วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการ คือ กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์และ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและ การใช้งานโปรแกรมต่าง รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (Resource) ต่าง ให้มีประสิทธิผลที่ดี
โดย OS เองนั้น อาจเป็นได้ทั้ง Software, Hardware, Firmware
·        Software OS - เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่อง ปรับปรุงแก้ไขง่าย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว OS ส่วนใหญ่จะเป็น Software OS
·        Hardware OS - ทำหน้าที่เดียวกับ Software OS แต่ทำงานเร็วกว่า เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์ electronic เป็นส่วนหนึ่งของ Hardware เครื่อง ปรับปรุงแก้ไขยาก มีราคาแพง
·        Firmware OS - หมายถึง โปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ คือ ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ไมโครโปรแกรม เกิดจาก คำสั่งไมโคร (Microinstruction) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งต่ำสุดของระบบควบคุมการทำงานของ CPU หลาย คำสั่งรวมกัน
คำสั่งภาษาเครื่อง 1 คำสั่งเกิดจากการทำงานของ Microprogram 1 โปรแกรม (หรือเกิดจากหลาย Microinstruction มารวมกัน) การแก้ไข เปลี่ยนแปลง คำสั่งภาษาเครื่อง ทำโดยสร้าง Microprogram ขึ้นใหม่ ซึ่งทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
ซึ่งหากเทียบความเร็วในการทำงานกันแล้ว
Software OS < Firmware OS < Hardware OS
* OS ทั่วไป สร้างเป็น Software แต่บางส่วนที่ถูกใช้งานบ่อยจะใช้เป็น Firmware
หน้าที่ของ OS
ตัว OS ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลัก คือ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่ผู้ใช้ ไม่ต้องทราบกลไกการทำ หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ เราจึงแบ่งหน้าที่ของ OS ได้ดังนี้
1.ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องผ่านทาง OS ได้ OS จะส่งเครื่องหมายพร้อมต์ (Prompt) ออกสู่จอรับคำสั่งจากผู้ใช้ โดยตรง ตัว OS จึงเป็นตัวกลางในการทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับ Hardware กับเครื่อง นอกจากนี้ผู้ใช้อาจเขียนโปรแกรมเพื่องาน ซึ่งกรณีนี้ไม่สามารถกับ OS ได้โดยผ่านทาง
System Call จึงเป็นการเรียกใช้รูทีน (โปรแกรมย่อย) ต่าง ๆ ของโปรแกรมของผู้ใช้ ทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้
2.ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เนื่องจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทาง OS อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในของเครื่อง ดังนั้นตัว OS จึงต้องมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกัน OS จึงมีส่วนประกอบเป็นรูทีนต่าง ๆ ที่ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิด อุปกรณ์แต่ละชนิดก็ต้องมีการควบคุมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น รูทีนควบคุม Disk Drives รูที่นควบคุมจอภาพ เป็นต้น
3.การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ
ทรัพยากร (Resource) คือสิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้ เช่น CPU Memory Disk เป็นต้น เหตุที่ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพราะทรัพยากรของระบบมีจำกัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ CPU ในระบบที่มี CPU ตัวเดียวแต่ทำงานหลายโปรแกรม เราต้องแบ่งสรรการใช้ CPU ให้กับโปรแกรมอย่างเหมาะสมมีทรัยากรอยู่หลายประเภท แต่ละโปรเซส หรือโปรแกรมมีความต้องการใช้ทรัพยากร อย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อมกัน OS ต้องจัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ตามความต้องการของแต่ละโปรเซส หรือ โปรแกรมเหล่านั้น
ดังนั้นหน้าที่อันสำคัญอีกประการหนึ่งของ OS ก็คือ จัดสรรการใช้ทรัพยากรของระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้า OS จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบก็สามารถรันโปรแกรม  ได้รวดเร็ว และ ได้งานเพิ่มขึ้น ทรัพยากรหลักที่ OS จัดสรรได้แก่
โปรเซสเซอร์( ซีพียู )
หน่วยความจำ
อุปกรณ์ อินพุต เอาท์พุต

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์

1. โครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้
 1.1 การปรับปรุงการบริหารจัดการรูปแบบการขนส่งที่สำคัญที่ยังมีการใช้งานน้อย อาทิ การขนส่งระบบรางและการขนส่งทางน้ำ ที่จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่ง
1.2 การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบ (Mode) การขนส่งให้สามารถเปลี่ยนถ่ายจากการขนส่งรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขนส่งสินค้าทางบกไปยังคลังสินค้าสู่ท่าเรือและลงเรือสินค้าเพื่อส่งสินค้าไปยังลูกค้า ได้ทันเวลาและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
1.3 การพัฒนาเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม ดังนั้นเพื่อที่จะให้โครงสร้างพื้นฐานรองรับโลจิสติกส์ จึงจำเป็นต้องเร่งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการและให้ความร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง
2. การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออก/นำเข้าต้องมีการติดต่อกับหน่วยราชการหลายหน่วยงาน รวมทั้งต้องกรอกข้อมูลในเอกสารต่าง ๆ หลายชุดทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การนำเข้า การส่งออก และโลจิสติกส์จะต้องมีแนวทางดังนี้
2.1 การให้บริการที่ไม่ยึดรูปแบบการแบ่งส่วนราชการ แต่มุ่งสร้างพันธกิจในลักษณะให้บริการครบวงจรจากจุดเดียว
2.2 สร้างมาตรฐานกลางและกลไกการทำงานระหว่างระบบ เช่น มาตรฐานระบบข้อมูล มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานที่ภาคเอกชนจะพัฒนาระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป
การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลจึงมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านเอกสารและบุคลากร ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการกรอกข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการ ตลอดจนสร้างความเป็นสากลที่จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับต่างประเทศ
3. ฐานข้อมูลโลจิสติกส์
ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโลจิสติกส์ ดังนั้นข้อมูลโลจิสติกส์ยังเป็นที่รับทราบอยู่ในวงจำกัดหรืออาจจะกระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและระดับจุลภาค โดยมีแนวทางดังนี้
3.1 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์และส่วนผลกระทบที่มีต่อมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ซึ่งจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองในการคำนวณต้นทุนดังกล่าว
ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยปี 2550 ร้อยละ 18.9 ต่อ GDPโดยมีเป้าหมายลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้เหลือร้อยละ 10 - 15 ต่อ GDP
3.2 สำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อจะทำให้ทราบทิศทางรูปแบบ และปริมาณการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โลจิสติกส์ในภาพรวม เพื่อที่จะเห็นช่องทางการเคลื่อนย้ายสินค้าในรูปแบบขนส่งต่าง ๆ คลังสินค้า และการขนถ่ายสินค้า
3.3 การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของบุคลากรด้านโลจิสติกส์
3.4 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ของแต่ละอุตสาหกรรม
4. การพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์
เนื่องจากโลจิสติกส์ยังอยู่ในวงจำกัด ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์มีจำนวนเล็กน้อย อุปสรรคที่สำคัญคือขาดแคลนอาจารย์ที่สอนด้านโลจิสติกส์ หลักสูตรโลจิสติกส์โดยตรงมีน้อย ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการจัดการโลจิสติกส์แต่ยังไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันภาครัฐยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจด้านโลจิสติกส์หรือมีความรู้ก็มีอยู่เพียงเล็กน้อย สำหรับแนวทางในการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์มีดังนี้
4.1 สร้างบุคลากรภาครัฐและนักเรียนนักศึกษา อาทิ ให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการและอาจารย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาระดับปริญญาด้านโลจิสติกส์
4.2 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและต่างประเทศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศทางด้านโลจิสติกส์
4.3 สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
4.4 ยกระดับบุคลากรบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เพื่อให้บุคลากรมีความ สามารถในการให้บริการกิจกรรมที่มีความซับซ้อนหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น
นโยบายโลจิสติกส์ของรัฐบาล
1) สร้างมาตรฐานขานรับกระแสการค้าโลกโดยการให้ความสำคัญกับ โลจิสติกส์และธุรกิจเกี่ยวข้อง
2) เร่งส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับธุรกิจโลจิสติกส์สัญชาติไทยและบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
3) สร้างพันธกิจโลจิสติกส์ด้วยยุทธศาสตร์เชิงนโยบายการผลักดันให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันตั้งกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ (alliance)
4) เร่งผลักดันให้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ โลจิสติกส์เป็นแกนหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเวทีโลก
อย่างไรก็ต้องเดินหน้าเพิ่มมาตรฐานเพื่อความก้าวหน้ารับกับการหมุนของโลจิสติกส์โลก  จำเป็นที่ไทยจะต้องจูนรับคลื่นใหม่  คือ
1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่กำลังทำให้โลกแคบลง
2) ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดต่างขับเคลื่อนด้วยการค้าเสรีเริ่มขยายข้อตกลงทางการค้าในแบบทวิและพหุภาคี
3) การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากอีกประเทศไปยังอีกประเทศเป็นไปแบบไร้พรมแดน
เพื่อให้เกิดผลออกมา (outcome) ใหม่ 3 เรื่อง
1) ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญกับนานาประเทศ
2) โลจิสติกส์เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความก้าวหน้าทางการค้าและเศรษฐกิจมากขึ้นทุกวัน
3) เปิดช่องให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเร่งปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถแข่งกับนานาชาติ ได้เต็มที่

Microsofl Access สร้างฐานข้อมูล

การสร้างฐานข้อมูลโดยใช้แม่แบบ

      Access มีแม่แบบที่หลากหลายให้คุณใช้เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วให้กับขั้นตอนการสร้างฐานข้อมูล แม่แบบคือฐานข้อมูลที่พร้อมใช้งานซึ่งมีตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม และรายงานต่างๆ ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานเฉพาะอย่าง ตัวอย่างเช่น มีแม่แบบที่สามารถใช้ติดตามปัญหา จัดการที่ติดต่อ หรือเก็บบันทึกการใช้จ่าย แม่แบบบางตัวมีตัวอย่างระเบียนเพื่อช่วยสาธิตวิธีใช้งาน ฐานข้อมูลแม่แบบสามารถนำไปใช้งานได้เลย หรือคุณสามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ
ถ้าหนึ่งในบรรดาแม่แบบเหล่านี้ตรงกับที่คุณต้องการ การใช้แม่แบบนั้นจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะเริ่มต้นใช้ฐานข้อมูล อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีข้อมูลในโปรแกรมอื่นที่คุณต้องการนำเข้ามายัง Access คุณอาจตัดสินใจว่าการสร้างฐานข้อมูลใหม่จากตั้งแต่ต้นนั้นดีกว่า แม่แบบจะมีโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้แล้ว และอาจจำเป็นต้องดัดแปลงข้อมูลที่มีอยู่ของคุณให้เข้ากับโครงสร้างของแม่แบบ
  1. ถ้าคุณมีฐานข้อมูลเปิดอยู่ ให้คลิก ปิดฐานข้อมูล บนเมนู แฟ้ม เพื่อแสดงบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access
  2. แม่แบบหลายตัวจะปรากฏภายใต้ แม่แบบออนไลน์พิเศษ ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access และมีให้ใช้ได้มากขึ้นถ้าคุณคลิกการเชื่อมโยงในบานหน้าต่าง ประเภทแม่แบบ คุณสามารถดาวน์โหลดแม่แบบเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Office Online ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในส่วนถัดไปของบทความนี้
  3. คลิกที่แม่แบบที่คุณต้องการใช้
  4. Access จะเสนอแนะชื่อแฟ้มสำหรับฐานข้อมูลของคุณในกล่อง ชื่อแฟ้ม คุณสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อแฟ้มได้ถ้าต้องการ เมื่อต้องการบันทึกฐานข้อมูลในโฟลเดอร์อื่นนอกเหนือจากที่แสดงใต้กล่องชื่อแฟ้ม ให้คลิก รูปปุ่ม แล้วเรียกดูโฟลเดอร์ที่คุณต้องการบันทึก จากนั้นคลิก ตกลง คุณอาจสร้างแล้วเชื่อมโยงฐานข้อมูลของคุณไปยังไซต์ Windows SharePoint Services 3.0 ด้วยหรือไม่ก็ได้
  5. คลิก สร้าง (หรือคลิก ดาวน์โหลด สำหรับแม่แบบ Office Online)
Access จะสร้างหรือดาวน์โหลดฐานข้อมูลแล้วจึงเปิด ฟอร์มจะปรากฏให้คุณสามารถเริ่มป้อนข้อมูลได้ ถ้าแม่แบบของคุณมีข้อมูลตัวอย่าง คุณสามารถลบแต่ละระเบียนได้โดยคลิกที่ตัวเลือกระเบียน (กล่องหรือแถบสีเทาทางซ้ายของระเบียน) จากนั้นทำดังนี้
บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ระเบียน ให้คลิก ลบ
  1. เมื่อต้องการเริ่มต้นป้อนข้อมูล ให้คลิกที่เซลล์ว่างเซลล์แรกบนฟอร์มแล้วเริ่มพิมพ์ ใช้ 'บานหน้าต่างนำทาง' เพื่อเรียกดูฟอร์มหรือรายงานอื่นที่คุณอาจต้องการใช้

การดาวน์โหลดแม่แบบจาก Office Online

ถ้าคุณไม่พบแม่แบบที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access และคุณได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ คุณสามารถค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Office Online
  1. ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access ภายใต้ ข้อมูลเพิ่มเติมบน Office Online ให้คลิก แม่แบบ
 หมายเหตุ   หน้าแรกของแม่แบบบน Office Online จะปรากฏในหน้าต่างเบราว์เซอร์
  1. ใช้เครื่องมือนำทางและค้นหา Office Online เพื่อหาแม่แบบ Access ที่คุณต้องการใช้แล้วทำตามคำสั่งเพื่อดาวน์โหลด ฐานข้อมูลจะถูกดาวน์โหลดลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ จากนั้นเปิดในอินสแตนซ์ใหม่ของ Access ในกรณีส่วนใหญ่แม่แบบจะถูกออกแบบมาเพื่อเปิดฟอร์มป้อนข้อมูลเพื่อที่คุณจะได้เริ่มป้อนข้อมูลได้ทันที

การสร้างฐานข้อมูลจากตั้งแต่ต้น

ถ้าคุณไม่สนใจใช้แม่แบบ คุณสามารถสร้างฐานข้อมูลจากตั้งแต่ต้น ในกรณีส่วนใหญ่ การทำเช่นนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือทั้งสองสิ่งต่อไปนี้
  • การป้อน การวาง หรือการนำเข้าข้อมูลลงในตารางที่ถูกสร้างเมื่อคุณเริ่มต้นฐานข้อมูลใหม่ จากนั้นทำซ้ำกระบวนการนี้กับตารางใหม่ที่คุณสร้างด้วยการใช้คำสั่ง แทรกตาราง
  • การนำเข้าข้อมูลจากแหล่งอื่นและการสร้างตารางใหม่ในกระบวนการ
เมื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนและออกแบบฐานข้อมูล หรือการสร้างความสัมพันธ์ ฟอร์ม รายงาน หรือแบบสอบถาม ให้ตามการเชื่อมโยงในส่วน ดูเพิ่มเติม ของบทความนี้

สร้างฐานข้อมูลเปล่า

  1. ในบานหน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access ภายใต้ สร้างฐานข้อมูลเปล่า ให้คลิก ฐานข้อมูลเปล่า
  2. ในบานหน้าต่าง ฐานข้อมูลเปล่า ให้พิมพ์ชื่อแฟ้มในกล่อง ชื่อแฟ้ม ถ้าคุณไม่ใส่นามสกุลให้ชื่อแฟ้ม Access จะเติมให้คุณ เมื่อต้องการเปลี่ยนตำแหน่งของแฟ้มนอกเหนือไปจากค่าเริ่มต้น ให้คลิก เปิดรูปปุ่ม (ถัดจากกล่อง ชื่อแฟ้ม) เรียกดูตำแหน่งใหม่ จากนั้นคลิก ตกลง
  3. คลิก สร้าง
Access จะสร้างฐานข้อมูลโดยมีตารางเปล่าชื่อ Table1 จากนั้นเปิด Table1 ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' จุดแทรกจะวางบนเซลล์แรกที่ว่างในคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่
  1. เริ่มต้นพิมพ์เพื่อเพิ่มข้อมูล หรือวางข้อมูลจากแหล่งอื่น ดังที่อธิบายในส่วน การคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นลงในตาราง Access ซึ่งจะอธิบายต่อไปในบทความนี้
การป้อนข้อมูลในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' นั้นถูกออกแบบมาให้คล้ายกับการทำงานในแผ่นงาน Microsoft Office Excel 2007 โครงสร้างตารางจะถูกสร้างขณะที่คุณป้อนข้อมูล  เมื่อใดก็ตามที่คุณเพิ่มคอลัมน์ใหม่ในตาราง เขตข้อมูลใหม่จะถูกกำหนดขึ้น Access จะตั้งค่าชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลแต่ละตัวโดยอัตโนมัติจากข้อมูลที่คุณป้อน
ถ้าคุณไม่ต้องการป้อนข้อมูลใน Table1 ขณะนี้ ให้คลิก ปิดรูปปุ่ม Access จะถามคุณให้บันทึกการเปลี่ยนแปลงลงในตาราง คลิก ใช่ เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลงของคุณ คลิก ไม่ใช่ เพื่อละทิ้งการบันทึก หรือคลิก ยกเลิก เพื่อปล่อยให้ตารางเปิดไว้
 สิ่งสำคัญ   ถ้าคุณปิด Table1 โดยไม่บันทึกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง Access จะลบทั้งตารางแม้ว่าคุณจะได้ป้อนข้อมูลลงไปแล้ว

เพิ่มตาราง

คุณสามารถเพิ่มตารางใหม่ในฐานข้อมูลที่มีอยู่ด้วยการใช้คำสั่ง แทรกตาราง คุณสามารถใช้มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เพื่อเริ่มป้อนข้อมูลทันที (Access จะสร้างโครงสร้างตารางให้คุณขณะที่ป้อน) หรือคุณสามารถใช้มุมมองออกแบบเพื่อสร้างโครงสร้างตารางก่อนแล้วค่อยสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เพื่อป้อนข้อมูล ไม่ว่าคุณจะเริ่มในมุมมองไหน คุณสามารถสลับไปที่มุมมองอื่นได้โดยใช้ปุ่มบนแถบสถานะของ Access
แทรกตาราง โดยเริ่มต้นในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล'    ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' คุณสามารถป้อนข้อมูลได้ทันทีแล้วให้ Access สร้างโครงสร้างตารางให้เบื้องหลัง ชื่อเขตข้อมูลจะถูกกำหนดเป็นตัวเลข (Field1, Field2 และอื่นๆ) และ Access จะตั้งค่าชนิดข้อมูลของเขตข้อมูลตามชนิดของข้อมูลที่คุณป้อน
  • บนแท็บสร้าง ในกลุ่มตาราง คลิก ตาราง
  • Access จะสร้างตารางและวางจุดแทรกไว้ในเซลล์แรกที่ว่างในคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่
  •  หมายเหตุ   ถ้าคุณไม่เห็นคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่ คุณอาจอยู่ในมุมมอง 'ออกแบบ' แทนที่จะเป็นมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เมื่อต้องการสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' ให้คลิกปุ่ม มุมมองแผ่นข้อมูล ในมุมล่างขวาของหน้าต่าง Access โปรแกรม Access จะพร้อมท์ให้คุณบันทึกตารางใหม่ แล้วจากนั้นสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล'
  • บนแท็บ แผ่นข้อมูล ในกลุ่ม เขตข้อมูลและคอลัมน์ ให้คลิก เขตข้อมูลใหม่
  • Access จะแสดงบานหน้าต่าง แม่แบบเขตข้อมูล ซึ่งมีรายการชนิดเขตข้อมูลที่ใช้ตามปกติ ถ้าคุณลากรายการตัวหนึ่งมาใส่ในแผ่นข้อมูล Access จะเพิ่มเขตข้อมูลเป็นชื่อนั้นแล้วตั้งค่าคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับชนิดของเขตข้อมูลนั้น คุณสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติได้ภายหลังถ้าต้องการ คุณต้องลากเขตข้อมูลมาใส่ในพื้นที่ของแผ่นข้อมูลที่มีข้อมูล  แถบแนวตั้งจะปรากฏเพื่อแสดงตำแหน่งเขตข้อมูลที่จะวางให้คุณเห็น
  • เมื่อต้องการเพิ่มข้อมูล ให้เริ่มพิมพ์ในเซลล์แรกที่ว่าง หรือวางข้อมูลจากแหล่งอื่น ดังที่อธิบายไว้ในส่วนการคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นมายังตาราง Access ซึ่งจะปรากฏต่อไปในบทความนี้
  • เมื่อต้องการเปลี่ยนชื่อคอลัมน์ (เขตข้อมูล) ให้คลิกสองครั้งที่ส่วนหัวคอลัมน์ จากนั้นพิมพ์ชื่อคอลัมน์ใหม่
  • เป็นวิธีที่ดีที่จะใช้ชื่อที่มีความหมายสำหรับแต่ละเขตข้อมูล เพื่อที่คุณจะสามารถบอกได้ว่าเขตข้อมูลนั้นมีอะไรเมื่อคุณดูใน รายการเขตข้อมูล
  • เมื่อต้องการย้ายคอลัมน์ ให้คลิกที่ส่วนหัวคอลัมน์เพื่อเลือกคอลัมน์ จากนั้นลากคอลัมน์ไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการ
  • คุณสามารถเลือกได้หลายคอลัมน์ที่ต่อเนื่องกันแล้วลากคอลัมน์เหล่านั้นไปตำแหน่งใหม่ทีเดียวพร้อมกัน เมื่อต้องการเลือกหลายคอลัมน์ต่อเนื่องกัน ให้คลิกที่ส่วนหัวคอลัมน์ของคอลัมน์แรก จากนั้นในขณะที่กด SHIFT ค้างไว้ให้คลิกส่วนหัวคอลัมน์ของคอลัมน์สุดท้าย
  • แทรกตาราง โดยเริ่มต้นในมุมมอง 'ออกแบบ'    ในมุมมอง 'ออกแบบ' ก่อนอื่นให้คุณสร้างโครงสร้างของตารางตัวใหม่ จากนั้นสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' เพื่อป้อนข้อมูล หรือคุณสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้วิธีอื่นเช่น การวางหรือการนำเข้า
  • บนแท็บ สร้าง ในกลุ่ม ตาราง ให้คลิก ออกแบบตาราง
  • สำหรับแต่ละเขตข้อมูลในตารางของคุณ ให้พิมพ์ชื่อในคอลัมน์ ชื่อเขตข้อมูล แล้วเลือกชนิดข้อมูลจากรายการ ชนิดข้อมูล
  •  หมายเหตุ   ถ้าคุณไม่เห็นคอลัมน์ ชื่อเขตข้อมูล และคอลัมน์ ชนิดข้อมูล คุณอาจอยู่ใน มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' แทนที่จะเป็นมุมมอง 'ออกแบบ' ถ้าต้องการสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ' ให้คลิก มุมมองออกแบบ บนแถบสถานะของ Access โปรแกรม Access จะถามชื่อของตารางใหม่ จากนั้นสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ'
  • ถ้าต้องการ คุณสามารถพิมพ์คำอธิบายให้เขตข้อมูลแต่ละตัวในคอลัมน์ คำอธิบาย จากนั้นคำอธิบายจะปรากฏบนแถบสถานะเมื่อจุดแทรกอยู่ในเขตข้อมูลนั้นในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' นอกจากนั้น คำอธิบายยังใช้เป็นข้อความแถบสถานะสำหรับตัวควบคุมใดๆ ในฟอร์มหรือรายงานที่คุณสร้างด้วยการลากเขตข้อมูลจาก รายการเขตข้อมูล และสำหรับตัวควบคุมใดๆ ที่ถูกสร้างสำหรับเขตข้อมูลนั้นโดยใช้ตัวช่วยสร้างฟอร์ม หรือ ตัวช่วยสร้างรายงาน
  • หลังจากที่คุณเพิ่มเขตข้อมูลของคุณทั้งหมด ให้บันทึกตารางด้วยการคลิก บันทึก บน แถบเครื่องมือด่วน
  • คุณสามารถเริ่มป้อนข้อมูลลงในตารางเมื่อใดก็ได้ด้วยการสลับไปที่มุมมอง 'แผ่นข้อมูล' แล้วคลิกที่เซลล์แรกที่ว่าง นอกจากนั้น คุณยังสามารถวางข้อมูลจากแหล่งอื่นได้ ซึ่งจะอธิบายในส่วนต่อไป การคัดลอกข้อมูลจากแหล่งอื่นลงในตาราง Access
หลังจากป้อนข้อมูลบางส่วนแล้ว ถ้าคุณต้องการเพิ่มเขตข้อมูลอีกอย่างน้อยหนึ่งเขตข้อมูลลงในตาราง คุณสามารถเริ่มพิมพ์ข้อมูลของคุณในคอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่ ในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' หรือคุณอาจสลับไปที่มุมมอง 'ออกแบบ' แล้วเพิ่มเขตข้อมูลใหม่ในตารางออกแบบก็ได้
ตั้งค่าคุณสมบัติเขตข้อมูลในมุมมอง 'ออกแบบ'    ไม่ว่าคุณได้สร้างตารางในมุมมอง 'แผ่นข้อมูล' หรือมุมมอง 'ออกแบบ' คุณควรที่จะตรวจสอบและตั้งค่าคุณสมบัติของเขตข้อมูล ซึ่งจะทำได้เฉพาะในมุมมอง 'ออกแบบ' เท่านั้น เมื่อต้องการสลับไปยังมุมมอง 'ออกแบบ' ให้คลิก มุมมองออกแบบ บนแถบสถานะของ Access เมื่อต้องการดูคุณสมบัติของเขตข้อมูล ให้คลิกเขตข้อมูลในตารางออกแบบ คุณสมบัติจะปรากฏด้านล่างของตารางออกแบบ ภายใต้ คุณสมบัติเขตข้อมูล
เมื่อต้องการดูคำอธิบายของคุณสมบัติแต่ละเขตข้อมูล ให้คลิกที่คุณสมบัติแล้วอ่านคำอธิบายในกล่องที่อยู่ถัดจากรายการคุณสมบัติภายใต้ คุณสมบัติเขตข้อมูล ตารางต่อไปนี้อธิบายคุณสมบัติของเขตข้อมูลที่มักจะถูกปรับเปลี่ยน

Microsofl Power point นำเสอนงาน

การใช้ Action Buttons ในการนำเสนองาน Microsoft Powerpoint

คลิกเมาท์ที่ AutoShapes>Action Buttons เลือกสัญลักษณ์ที่ต้องการใช้
 จากตัวอย่าง จะมีไว้สำหรับพลิกหน้าถัดไป จะถามว่าจะ save หรือไม่
 เลือกความหมายของสัญลักษณ์ โดยที่โปรแกรมจะเลือกให้อัตโนมัติอยู่แล้วแต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลได้
 คลิกที่ New Silde เพื่อเพิ่มหน้าของงานเลือกแบบและคลิก OK
 เลือกสัญลักษณ์มาใส่สามารใช้ได้มากกว่า 1จากในรูปจะเป็นสัญลักษณ์ของ หน้าก่อนนี้กับหน้าถัดไป
 จากในรูปจะเป็นสัญลักษณ์ของ ย้อนหน้าก่อนกับหน้าถัดไป
 ถ้าต้องการจะจบงานให้ใช้สัญลักษณ์นี้แล้วเลือก End Show
 คลิก Silde Show (ที่วงไว้) เพื่อดูผลและลองคลิกสัญลักษณ์ดูว่าได้ผลตามนั้นไหม
แก้ไขเมื่อ : 2009-01-24 00:05:16
       
การใช้ Action Buttons ในการนำเสนองาน Microsoft Powerpoint


คลิกเมาท์ที่ AutoShapes>Action Buttons เลือกสัญลักษณ์ที่ต้ิองการใช้


จากตัวอย่าง จะมีไว้สำหรับพลิกหน้าถัดไป จะถามว่าจะ save หรือไม่


เลือกความหมายของสัญลักษณ์ โดยที่โปรแกรมจะเลือกให้อัตโนมัติอยู่แล้วแต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้


คลิกที่ี New Silde เพื่อเพิ่มหน้าของงานเลือกแบบและคลิก OK


ลือกสัญลักษณ์มาใส่สามารใช้ได้มากกว่า 1จากในรูปจะเป็นสัญลักษณ์ของ หน้าก่อนนี้กับหน้าถัดไป


จากในรูปจะเป็นสัญลักษณ์ของ ย้อนหน้าก่อนกับหน้าถัดไป


ถ้าต้องการจะจบงานให้ใช้สัญลักษณ์นี้แล้วเลือก End Show


คลิก Silde Show (ที่วงไ้ว้) เพื่อดูผลและลองคลิกสัญลักษณ์ดูว่าได้ผลตามนั้นไหม

Microsofl Excel สร้างตรางคำนวณ

  การออกแบบโครงสร้างตารางคำนวณ 

        ในโปรแกรม Microsoft Excel
มีองค์ประกอบอยู่ 2 อย่างแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลยในหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านไป ไม่ว่าจะเป็น Excel รุ่นใดก็ตามยังคงมีสิ่งนี้ใช้กันเรื่อยมา สิ่งที่ว่านี้ก็คือ ตารางที่ประกอบด้วยเซลล์มีหลาย Row หลายคอลัมน์และสูตรสำเร็จรูปอีกหลายร้อยสูตรติดมาพร้อมกับตัวโปรแกรม ซึ่งผู้ใดสามารถนำตารางและสูตรมาใช้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี จะทำให้ใช้โปรแกรม Excel ที่มีราคาไม่กี่หมื่นบาททำงานได้ยืดหยุ่นกว่าโปรแกรมสำเร็จรูปราคาแพงเป็นแสนเป็นล้านบาททีเดียว
บทความนี้จะแนะนำคุณให้หาทางใช้ตาราง Excel อย่างสร้างสรรค์ เพื่อใช้คำนวณหาผลลัพธ์ในปัญหาต่างๆ ได้สารพัด เพียงแค่นำตารางและสูตรสำเร็จรูปของ Excel มาใช้ร่วมกันอย่างมีหลักการ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และอย่างมีเหตุผล จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เช่น
  • สามารถคำนวณหาคำตอบในปัญหาที่ไม่เคยคิดว่า Excel จะทำได้มาก่อน
  • สูตรสั้นลง และสามารถแก้ไขสูตรได้ง่ายและรวดเร็ว
  • สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณในทุกขั้นตอน
  • สามารถขยายขนาดหรือเคลื่อนย้ายตำแหน่งเซลล์ เพื่อนำตารางไปใช้ซ้ำในเซลล์อื่น ชีทอื่นหรือแฟ้มอื่นได้ทันที
  • สามารถนำตารางไปใช้ในงานคำนวณอื่นที่ใช้หลักการเดียวกันได้ทันที หรือหลังจากผ่านการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย
  • สามารถนำตารางไปใช้งานร่วมกับเมนูคำสั่งของ Excel ได้ทุกเมื่อ แม้แต่การนำข้อมูลไปแสดงผลต่อในรูปกราฟ
  • แฟ้มคำนวณเร็วและมีขนาดแฟ้มเล็กลง แม้จะมีตารางขนาดใหญ่ก็ตาม
          ตารางคำนวณคืออะไร?
เพื่อทำให้เข้าใจตรงกัน จึงขอให้คำจำกัดความในความหมายของตารางคำนวณก่อนว่า ตารางคำนวณในบทความนี้มิได้หมายถึงพื้นที่ตารางว่างๆ ที่คุณจะเห็นทันทีบนจอเมื่อเปิดโปรแกรม Excel ขึ้นมาใช้งาน แต่ตารางคำนวณในที่นี้มีความหมายถึงตารางซึ่งคุณสร้างขึ้นมาเองโดยมีข้อมูลบันทึกไว้แล้ว อาจเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสูตรใดๆ ก็ได้ ทั้งนี้มีเจตนาเพื่อใช้พื้นที่เซลล์หรือตารางนั้นในการคำนวณหาคำตอบที่คุณต้องการโดยเฉพาะ เช่น ตารางคำนวณค่าแรงที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างทำงานในแต่ละกะ ตารางคำนวณยอดต้นทุนขายแบบ Fist-in First-out ตารางคำนวณหาจำนวนสินค้าที่ต้องวางแผนสั่งผลิต (Material Requirements Planning) หรือตารางคำนวณเพื่อวางแผนการลงทุน (Feasibility Study) เป็นต้น

ตารางที่ไม่ถือว่าเป็นตารางคำนวณในบทความนี้ ได้แก่ ตารางฐานข้อมูลซึ่งใช้บันทึกข้อมูลดิบ (ไม่มีสูตร) ตารางรายงานที่จัดโครงสร้างเพื่อพิมพ์ในกระดาษหรือแสดงผลให้เห็นบนจอ หรือตารางที่ Excel จัดโครงสร้างให้เองอัตโนมัติจากการใช้คำสั่งบนเมนู SubTotals หรือ Pivot Table

ตารางคำนวณโดยทั่วไปประกอบด้วยพื้นที่ตารางย่อย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นพื้นที่ตารางสำหรับเก็บค่าตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณ และพื้นที่ตารางอีกส่วนหนึ่งใช้สำหรับสร้างสูตรคำนวณ ซึ่งรับค่ามาจากค่าตัวแปรในพื้นที่ส่วนแรกนั่นเอง โดยผู้ใช้งานจะใช้พื้นที่ส่วนแรกในการพิมพ์ค่าตัวแปรตัวใหม่ลงไป จากนั้นจะแสดงคำตอบจากการคำนวณให้เห็นในตารางส่วนที่เป็นสูตรคำนวณ
     

ขั้นตอนการสร้างตารางคำนวณหลังจากที่ได้พิจารณาขอบเขตความต้องการและพอได้เห็นแนวทางสร้างงานที่คนอื่นใช้กันมาก่อนแล้วบ้าง คราวนี้ก็ถึงประเด็นสำคัญว่าพอเปิดโปรแกรม Excel ขึ้นมาแล้ว คุณจะเริ่มต้นออกแบบตารางกันอย่างไรดี ซึ่งลักษณะของตารางคำนวณนี่เองที่จะชี้ให้เห็นฝีไม้ลายมือว่าใครเยี่ยมยุทธ์กว่ากัน ถ้าเทียบกับการสร้างบ้านสักหลังหนึ่งแล้ว ข้อพิจารณาที่ผ่านไปเป็นเพียงแค่การออกแบบคร่าวๆ และเตรียมซื้ออุปกรณ์ก่อสร้าง หิน ทราย ปูนซิเมนต์ เตรียมไว้ไม่ให้ขาด ไม่ให้เกินกว่าความจำเป็น ต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของสถาปนิกและวิศวกรที่จะต้องลงมือก่อสร้างบ้านของจริงให้สวยหรู ดูดี อยู่สบาย อากาศถ่ายเทสะดวก และสามารถตกแต่งต่อเติมให้น่าอยู่ไปชั่วลูกชั่วหลาน

ก่อนอื่นผมจำเป็นต้องขอเตือนให้ทราบข้อผิดพลาดที่ผู้ใช้ Excel ทั่วไปมักคิดออกแบบตารางอย่างรวบรัดเกินไป โดยการพยายามนำตารางคำนวณไปรวมกับตารางที่ใช้พิมพ์ออกไปเป็นรายงาน หรือแสดงผลลัพธ์ที่ต้องการบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ไว้เป็นตารางเดียวกัน ซึ่งความคิดเช่นนี้จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ไม่สามารถใช้เซลล์ต่อเนื่องกันเพื่อจัดการคำนวณทีละลำดับ จึงขอแนะนำให้คิดแยกตารางคำนวณออกเป็นพื้นที่ต่างหากแยกจากตารางที่ใช้พิมพ์รายงาน แม้ต้องทำให้เสียพื้นที่เซลล์มากขึ้นโดยอาจต้องแยกออกเป็นชีทหลายๆ ชีท แต่จะช่วยทำให้สามารถออกแบบโครงสร้างตารางคำนวณได้อย่างอิสระ แล้วต่อเมื่อตารางคำนวณนี้สามารถคำนวณหาคำตอบได้ตามที่ต้องการแล้ว จึงค่อยนำผลลัพธ์ที่ได้ลิงก์ ไปประกอบกันเป็นตารางรายงานในที่สุด

โครงสร้างพื้นฐานของตารางคำนวณ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นที่ตารางสำหรับรับค่าตัวแปร และพื้นที่ตารางสำหรับสร้างสูตรคำนวณ โดยให้ยึดหลักว่าสูตรที่สร้างขึ้นในตารางคำนวณนั้น หากเป็นไปได้ขอให้คิดสร้างสูตรลงไปในเซลล์แรกเซลล์เดียวที่หัวมุมซ้ายบนสุดของตาราง จากนั้นเมื่อ Copy สูตรนี้ไปใช้ที่เซลล์ส่วนอื่นในตารางต้องสามารถใช้สูตรเดิมนั้นได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขสูตรให้แตกต่างกันไปจากเดิมแต่อย่างใด หรืออีกนัยหนึ่งให้ใช้สูตรเดียวกับทุกเซลล์ในตารางคำนวณให้ได้ แต่ถ้าไม่สามารถสร้างสูตรเดียวที่เซลล์หัวมุม ก็ขอให้พยายามสร้างสูตรเดียวในแต่ละแนว Row หรือ คอลัมน์

เพื่อทำให้เห็นโครงสร้างตารางคำนวณแบบง่ายๆ ขอยกตัวอย่างการสร้างตารางคำนวณสูตรคูณมาพิจารณากันตามรูปต่อไปนี้

Bot
รูปตารางนี้เป็นตัวอย่างการคำนวณสูตรคูณแม่ 2-5 โดยกำหนดให้นำไปคูณเลข 1-5
  • ให้แยกเซลล์รับตัวแปรวางไว้ตามแนวคู่ขนานกับพื้นที่คำนวณ โดยอาจวางไว้เป็นแนวหัวตารางด้านบน (C2:F2) หรือหัวตารางด้านข้าง (B3:B7) ซึ่งตัวแปรที่ว่านี้เป็นเซลล์รับตัวเลขที่คุณอาจมีความต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นค่าอื่นในอนาคต
  • C3:F7 เป็นพื้นที่เซลล์ที่คุณต้องหาทางสร้างสูตรลงไปทุกเซลล์ โดยให้สร้างสูตรลงไปที่เซลล์ C3 ซึ่งเป็นตำแหน่งเซลล์หัวมุมซ้ายบนเพียงเซลล์เดียว ให้มีสูตร =C$2*$B3 จากนั้นให้ Copy ไป Paste ทุกเซลล์ในพื้นที่ C3:F7
   โปรดสังเกตว่าตัวอย่างสูตรคูณนี้เป็นตัวอย่างการนำค่าไปคำนวณแบบ 1 ต่อ 1 หมายถึง เซลล์สูตรหนึ่งๆ จะรับค่าจากเซลล์ตัวแปรตามแนวนอนหรือแนวตั้งเพียงข้างละ 1 เซลล์เท่านั้น ซึ่งในปัญหาอื่นอาจจำเป็นต้องใช้การคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยเซลล์สูตรหนึ่ง จะใช้เซลล์ตัวแปรมากกว่าเซลล์เดียวก็เป็นได้โดยใช้สูตรพวก Lookup ช่วยในการเลือกข้อมูลมาใช้คำนวณ

    นอกจากเซลล์สูตรจะรับค่ามาจากเซลล์ตัวแปรแล้ว เซลล์สูตรยังอาจรับค่าต่อมาเซลล์สูตรคำนวณในขั้นก่อนได้อีก ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากตารางคำนวณงบการเงินหรือวางแผนการผลิตที่มียอดคงเหลือปลายงวดส่งต่อไปตั้งเป็นยอดคงเหลือต้นงวดของช่วงเวลาถัดไป

   ตารางคำนวณที่ดีต้องมีความยืดหยุ่นสามารถคำนวณให้ผลลัพธ์ได้ตามต้องการตลอดไป ไม่ว่าจะมีการโยกย้ายหรือแยกตารางตัวแปรไปวางไว้ที่ชีทอื่นเหนือแฟ้มอื่น ดังนั้น พอสร้างตารางคำนวณเสร็จ ขอให้ทดลอง Cut ตารางไปวางไว้ที่ตำแหน่งอื่นหรือโยกย้ายเซลล์ตัวแปรแยกออกจากกัน เพื่อพิสูจน์ว่าตารางคำนวณยังคงสามารถให้ผลลัพธ์ถูกต้องตามเดิมหรือไม่

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

Microsoft Word ประมวลคำ

แสดงส่วนประกอบบนหน้าต่างหลักโปรแกรมประมวลผลคำ : Microsoft word



 แถบชื่อเรื่อง (Title Bar)  หน้าต่างเอกสาร (Windows)


 เมนูหลัก หรือแถบรายการ (Menu bar)  มุมมองเอกสาร (View)


 แถบเครื่องมือ (Tools Bar)  แถบสถานะ (Status Bar)


 แถบไม้บรรทัด (Ruler)  แถบเลื่อนแนวตั้ง แนวนอน (Scroll Bar)

รายละเมนูหลัก (Menu Bar) และเมนูย่อย
• เมนูแฟ้ม (Files) เป็นเมนูหลักใช้ในการเปิด จัดเก็บ ตั้งค่าหน้ากระดาษ พิมพ์
• เมนูแก้ไข (Edit) เป็นเมนูหลักใช้ในการแก้ไข ตัด คัดลอก ค้นหา แทนที่
• เมนูมุมมอง (Views) เป็นเมนูหลักใช้ในการมองหน้าต่างเอกสาร เพิ่มหรือลดมุมมองเครื่องมือ แทรกหัวและท้ายเอกสาร
• เมนูแทรก (Insert) เป็นเมนูหลักใช้ในการแทรกเลขหน้า วันที่และเวลา ข้อความอัตโนมัติ เขตข้อมูล ข้อคิดเห็น การอ้างอิง สัญลักษณ์ รูปภาพ แฟ้มข้อมูล วัตถุ
• เมนูรูปแบบ (Format) เป็นเมนูหลักใช้ในการจัดรูปแบบตัวอักษร ย่อหน้า เพิ่มสัญลักษณ์ย่อหน้า แบ่งคอลัมน์ ตั้งแท็บ สีพื้นหลังหน้าเอกสาร ชุดแม่แบบเอกสาร
เมนูเครื่องมือ (Toosl) เป็นเมนูหลักใช้ในการตรวจการสะกดและไวยากรณ์ เพิ่มหรือลดเครื่องมือในเมนูหลักทุกเมนู
• เมนูตาราง (Table) เป็นเมนูหลักใช้ในการวาดตาราง แทรก ลบ เรียงลำดับ สูตร
เมนูวิธีใช้ (Help) เป็นเมนูแสดงวิธีการใช้โปรแกรม
     ความสามารถของโปรแกรมประมวลผลคำ : Microsoft Word
ความสามารถของโปรแกรมประมวลผลคำ ที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์เอกสารมีมากมาย
ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานและเป็นจุดเด่นของโปรแกรม มีดังนี้

1. เรียกข้อมูลจากโปรแกรมประมวลคำอื่นๆ มาใช้งาน หรือบันทึกข้อมูลจากโปรแกรม

ไมโครซอฟต์เวิร์ด ให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมอื่นๆ สามารถนำไปใช้ได้

2. พิมพ์หรือตกแต่งลักษณะของตัวอักษรได้หลายชุดอักษร หลายรูปแบบ หลายขนาด

หลายสีเน้น ข้อความด้วยการระบายสีพื้นหลัง ทำตัวอักษรใหญ่พิเศษ (Drop Cap) สำหรับอักษรตัวแรกของย่อหน้า มีโปรแกรม Word Art สำหรับประดิษฐ์ตัวอักษรตามต้องการ

3. แก้ไขเอกสารโดยวิธีลบ เคลื่อนย้าย และคัดลอกข้อความ

4. จัดเอกสาร โดยจัดข้อความในเอกสารให้พิมพ์ชิดซ้าย ชิดขวา และกึ่งกลางบรรทัด จัด

ระยะห่างระหว่างบรรทัด ระยะห่างระหว่างย่อหน้า ระยะเยื้องหน้า เยื้องหลัง สำหรับย่อหน้า ใส่เครื่องหมายและตัวเลขแทนลำดับหัวข้อ พิมพ์ตาราง แบ่งสดมภ์ ตีกรอบและแรงเงา ประกอบภาพหรือสร้างกราฟในเอกสาร เพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอข้อมูล

5. ตรวจสอบเอกสาร จากระบบตรวจการสะกดและแก้ไขให้ถูกต้อง ค้นหาและ

เปลี่ยนแปลงข้อความที่พิมพ์ ช่วยตรวจหาคำผิดรวมทั้งไวยากรณ์ตามหลักภาษาอังกฤษด้วย

6. จัดทำจดหมายเวียน (Mail merge) ซึ่งเป็นจดหมายที่มีข้อความเหมือนกันแต่ส่งถึงผู้รับ

หลายคน สามารถช่วยจัดพิมพ์จ่าหน้าซองจดหมายและป้ายผนึก

7. ใส่ข้อความหรือรูปภาพอัตโนมัติ (Auto Text) โดยพิมพ์ชื่อหรือคำย่อที่กำหนดไว้ จะ

ได้ข้อความเต็มตามต้องการ จัดรูปแบบเอกสารอัตโนมัติ (Auto Format) ให้ได้ผลงานอย่างมืออาชีพ ทำการคำนวณตัวเลขทั้งแบบธรรมดาและสูตรที่ซับซ้อนได้ และพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ได้อย่างสวยงาม จัดเรียงลำดับข้อมูลตามลำดับตัวอักษรหรือตัวเลข

4. ประสิทธิภาพการทำงาน

1. จัดเก็บข้อมูลในแฟ้มได้ถึง 32 ล้านอักษร (32 MB)

2. เปิดแฟ้มได้หลายแฟ้มพร้อมกัน และขณะที่ใช้งานสามารถกำหนดขนาดกรอบของแต่

ละแฟ้ม เพื่อความสะดวกในการจัดการ

3. มีชุดเครื่องมือ (Tool bar) ที่ใช้แทนรายการในเมนู (Menu) ทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายชุด

เครื่องมือนี้ไปไว้ ณ ตำแหน่งใดๆ ในหน้าต่างของโปรแกรมได้ด้วย

4. แสดงชื่อกำกับสัญรูปบนกล่องเครื่องมือเมื่อวางตัวชี้ที่สัญรูปนั้น ครู่หนึ่ง

5. เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมประมวลผลคำแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยโปรแกรม

กำหนดให้มีคำแนะนำรายวัน (Tip of the day) ปรากฏทุกครั้งที่เริ่มใช้โปรแกรม

6. สามารถยกเลิกผลงานที่ทำไว้ (Undo) หรือ ขอคืนผลงานที่ถูกยกเลิกไป (Redo) ได้
ระดับ
7. งานซับซ้อน เช่น กราฟ มีตัววิเศษ (Wizard) ให้ความช่วยเหลือเป็นขั้นตอน ที่
สามารถสร้างงานได้ง่ายและรวดเร็ว


วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ย้อยรอยคอมพิวเตอร์

            เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด มีการใช้ลูกคิดในหมู่ชาวจีนมากกว่า 7000 ปี และใช้ในอียิปต์โบราณมากกว่า 2500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข

            เครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2185 ต่อมามาในปี พ.ศ. 2337 กอดฟริด ฟอนไลบ์นิช (Gottfried von Leibniz) ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถสูงสามารถคูณและหารได้
บุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตเครื่องจักรคำนวณคือ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2343 เขาประสบความสำเร็จสร้างเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า Difference engine
ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ฮอลเลอริชได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตจำหน่ายเครื่องจักรช่วยในการคำนวณ ชื่อ บริษัท คอมพิวติง เทบบูลาติง เรดคอสดิง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2467 ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machine : IBM)
คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสูญญากาศ (พ.ศ. 2488-2501)
ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคน คือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค (Electronic Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC)
ในปี พ.ศ. 2488 จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann)
                                                                                                
                 ได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507)
นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็จ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย
คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508-2512)
ประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง จึงมีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์"
               คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ.2513-2532)
เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor)
การใช้ VLSI เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก
                   การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง เพราะ VLSI เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)
คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน)
          ไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า Local Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet) ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม (Multimedia)