วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์

1. โครงสร้างพื้นฐานและกฎหมาย
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีแนวทางสำคัญดังนี้
 1.1 การปรับปรุงการบริหารจัดการรูปแบบการขนส่งที่สำคัญที่ยังมีการใช้งานน้อย อาทิ การขนส่งระบบรางและการขนส่งทางน้ำ ที่จะช่วยประหยัดต้นทุนด้านการขนส่ง
1.2 การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบ (Mode) การขนส่งให้สามารถเปลี่ยนถ่ายจากการขนส่งรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ขนส่งสินค้าทางบกไปยังคลังสินค้าสู่ท่าเรือและลงเรือสินค้าเพื่อส่งสินค้าไปยังลูกค้า ได้ทันเวลาและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
1.3 การพัฒนาเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรม ดังนั้นเพื่อที่จะให้โครงสร้างพื้นฐานรองรับโลจิสติกส์ จึงจำเป็นต้องเร่งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดำเนินการและให้ความร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจัง
2. การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูล
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเอกสารการค้าระหว่างประเทศที่ผู้ส่งออก/นำเข้าต้องมีการติดต่อกับหน่วยราชการหลายหน่วยงาน รวมทั้งต้องกรอกข้อมูลในเอกสารต่าง ๆ หลายชุดทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การนำเข้า การส่งออก และโลจิสติกส์จะต้องมีแนวทางดังนี้
2.1 การให้บริการที่ไม่ยึดรูปแบบการแบ่งส่วนราชการ แต่มุ่งสร้างพันธกิจในลักษณะให้บริการครบวงจรจากจุดเดียว
2.2 สร้างมาตรฐานกลางและกลไกการทำงานระหว่างระบบ เช่น มาตรฐานระบบข้อมูล มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานที่ภาคเอกชนจะพัฒนาระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป
การพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลจึงมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านเอกสารและบุคลากร ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการกรอกข้อมูล เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการ ตลอดจนสร้างความเป็นสากลที่จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับต่างประเทศ
3. ฐานข้อมูลโลจิสติกส์
ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาโลจิสติกส์ ดังนั้นข้อมูลโลจิสติกส์ยังเป็นที่รับทราบอยู่ในวงจำกัดหรืออาจจะกระจัดกระจาย จึงจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและระดับจุลภาค โดยมีแนวทางดังนี้
3.1 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์และส่วนผลกระทบที่มีต่อมวลรวมผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ซึ่งจำเป็นต้องสร้างแบบจำลองในการคำนวณต้นทุนดังกล่าว
ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยปี 2550 ร้อยละ 18.9 ต่อ GDPโดยมีเป้าหมายลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้เหลือร้อยละ 10 - 15 ต่อ GDP
3.2 สำรวจการเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อจะทำให้ทราบทิศทางรูปแบบ และปริมาณการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคโดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์โลจิสติกส์ในภาพรวม เพื่อที่จะเห็นช่องทางการเคลื่อนย้ายสินค้าในรูปแบบขนส่งต่าง ๆ คลังสินค้า และการขนถ่ายสินค้า
3.3 การจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานของบุคลากรด้านโลจิสติกส์
3.4 การจัดเก็บข้อมูลต้นทุนโลจิสติกส์ของแต่ละอุตสาหกรรม
4. การพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์
เนื่องจากโลจิสติกส์ยังอยู่ในวงจำกัด ผู้ชำนาญการด้านโลจิสติกส์มีจำนวนเล็กน้อย อุปสรรคที่สำคัญคือขาดแคลนอาจารย์ที่สอนด้านโลจิสติกส์ หลักสูตรโลจิสติกส์โดยตรงมีน้อย ผู้ประกอบการมีความตื่นตัวในการจัดการโลจิสติกส์แต่ยังไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันภาครัฐยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจด้านโลจิสติกส์หรือมีความรู้ก็มีอยู่เพียงเล็กน้อย สำหรับแนวทางในการพัฒนาบุคลากรโลจิสติกส์มีดังนี้
4.1 สร้างบุคลากรภาครัฐและนักเรียนนักศึกษา อาทิ ให้ทุนการศึกษาแก่ข้าราชการและอาจารย์มหาวิทยาลัยไปศึกษาระดับปริญญาด้านโลจิสติกส์
4.2 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและต่างประเทศ รวมทั้งแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศทางด้านโลจิสติกส์
4.3 สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องการจัดการโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
4.4 ยกระดับบุคลากรบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เพื่อให้บุคลากรมีความ สามารถในการให้บริการกิจกรรมที่มีความซับซ้อนหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น
นโยบายโลจิสติกส์ของรัฐบาล
1) สร้างมาตรฐานขานรับกระแสการค้าโลกโดยการให้ความสำคัญกับ โลจิสติกส์และธุรกิจเกี่ยวข้อง
2) เร่งส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับธุรกิจโลจิสติกส์สัญชาติไทยและบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
3) สร้างพันธกิจโลจิสติกส์ด้วยยุทธศาสตร์เชิงนโยบายการผลักดันให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันตั้งกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ (alliance)
4) เร่งผลักดันให้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจ โลจิสติกส์เป็นแกนหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเวทีโลก
อย่างไรก็ต้องเดินหน้าเพิ่มมาตรฐานเพื่อความก้าวหน้ารับกับการหมุนของโลจิสติกส์โลก  จำเป็นที่ไทยจะต้องจูนรับคลื่นใหม่  คือ
1) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่กำลังทำให้โลกแคบลง
2) ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดต่างขับเคลื่อนด้วยการค้าเสรีเริ่มขยายข้อตกลงทางการค้าในแบบทวิและพหุภาคี
3) การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากอีกประเทศไปยังอีกประเทศเป็นไปแบบไร้พรมแดน
เพื่อให้เกิดผลออกมา (outcome) ใหม่ 3 เรื่อง
1) ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญกับนานาประเทศ
2) โลจิสติกส์เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความก้าวหน้าทางการค้าและเศรษฐกิจมากขึ้นทุกวัน
3) เปิดช่องให้ธุรกิจเอสเอ็มอีเร่งปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถแข่งกับนานาชาติ ได้เต็มที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น